28 ต.ค. 2562
หากมองในมิติคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นรากเหง้าและสิ่งสะท้อนตัวตนของผู้คนแต่ละชาตพันธุ์ เป็นบ่อเกิดความความเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน รวมทั้งการอธิบายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันซึ่งเป็นพัฒนาการที่ยาวนานของสังคมมนุษย์ และหากจะมองในมิติเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ดังนั้นคงจะสรุปได้ว่า มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ ทรัพย์สมบัติจากบรรพชน ที่รอการนำมาใช้ ซึ่งยิ่งนานวันยิ่งมีคุณค่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น และยิ่งใช้ยิ่งเกิดประโยชน์ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเหมาะสมกับบริบทของสังคมใหม่และการนำมาใช้อย่างยั่งยืน