วิเคราะห์เปรียบเทียบประเด็นสำคัญของ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – การท่องเที่ยวโดยชุมชน -ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Last updated: 7 ก.ค. 2564  |  5805 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิเคราะห์เปรียบเทียบประเด็นสำคัญของ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – การท่องเที่ยวโดยชุมชน -ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

การวิเคราะห์เปรียบเทียบประเด็นสำคัญของ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – การท่องเที่ยวโดยชุมชน -ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม


องค์ความรู้จากการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาพื้นที่ต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม” ได้รับการอุดหนุนทุนวิจัย จาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ปีงบประมาณ พ.ศ.2563

ผู้เขียน/เรียบเรีย
วรพงศ์ ผูกภู่

ผู้วิจัย
วรพงศ์ ผูกภู่, ฐิติ ฐิติจำเริญพร,
วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล, อิสรี แพทย์เจริญ,
พินทุสร อ่อนเปี่ยม, จิตรลดา ปิ่นทอง

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564

การวิเคราะห์เปรียบเทียบประเด็นสำคัญของ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – การท่องเที่ยวโดยชุมชน -ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้ทราบถึงประเด็นที่มีสาระสำคัญสอดคล้องกันและความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังตาราง

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่าง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – การท่องเที่ยวโดยชุมชน - ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ประเด็น/รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เบื้องหลังความคิดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในพื้นถิ่น ช่วยส่งเสริม เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม รวมทั้งเอื้อประโยชน์กับคนในชุมชน ท้องถิ่น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมชุมชนควรมีสิทธิในการจัดการทรัพยากร และวัฒนธรรมของตนเอง โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเมือง การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ให้มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ศักยภาพทางการท่องเที่ยว 1. แหล่งโบราณคดี พิพิธภัณฑ์
2. สถาปัตยกรรม สิ่งปลูกสร้าง ซากผังเมืองในอดีต
3. ศิลปะ หัตถกรรม ประติมากรรม
4. ประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ
5. ดนตรี
6. ละคร ภาพยนตร์ ต่าง ๆ
7. ภาษาและวรรณกรร
8. ประเพณี ความเชื่อที่เกี่ยวข้องทางศาสนา
9. วัฒนธรรมเก่าแก่ วัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมทั้งวัฒนธรรมย่อย
ธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฐานการผลิต อาชีพ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ประกอบด้วย
1. วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา
2. ศิลปะการแสดง
3. แนวทางปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และงานเทศกาล
4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม
6. การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
7. ระบบนิเวศน์และฐานทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว การศึกษาหาความรู้ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และตอบสนองความต้องการของชุมชนประสบการณ์จากการเดินทาง การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมและบริบทของพื้นที่ ที่แตกต่างหลากหลาย
การจัดการการท่องเที่ยว ชุมชน และ/หรือ หน่วยงานผู้รับผิดชอบพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการการท่องเที่ยว ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันบริหารจัดการการท่องเที่ยว
การเชื่อมโยงของการท่องเที่ยว เน้นหนักการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ด้านวัฒนธรรม เน้นหนักการพัฒนาแบบองค์รวม ให้ความสำคัญกับการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

จากตารางที่ 1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่าง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – การท่องเที่ยวโดยชุมชน - ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จะเห็นว่า ประเด็นร่วมของการท่องเที่ยวทั้ง 3 รูปแบบคือ 1) การท่องเที่ยวเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สัคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 2) ศักยภาพทางการท่องเที่ยวอยู่บนพื้นฐานของนิเวศน์วัฒนธรรมของท้องถิ่น 3) เป็นการท่องเที่ยวที่สร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ และกระตุ้นจิตสำนึก ในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 4) ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่น และ 5) การท่องเที่ยวนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และ 6) การท่องเที่ยวเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ประเด็นที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่าง ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กับ ระหว่าง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ การท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่า 1) ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีพื้นฐานมาจากการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม โดยการท่องเที่ยวเข้ามาส่งเสริมหรือต่อยอด ให้เกิดการพัฒนา สร้างสรรค์ และเผยแพร่ นำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2) ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการเชื่อมโยงศักยภาพทั้งทางด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติ ในลักษณะของ นิเวศน์วัฒนธรรมท้องถิ่น 3) ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการจัดการการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนร่วมกับวัด และชุมชนร่วมกับกรมศิลปากร เป็นต้น และ 4) การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือการเสริมสร้างศักยภาพทางการท่องเที่ยว ในมิติของทรัพยากรทางการท่องเที่ยว บุคลากรทางการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการ

 เอกสารอ้างอิง

วรพงศ์ ผูกภู่, ฐิติ ฐิติจำเริญพร,วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล, อิสรี แพทย์เจริญ, พินทุสร อ่อนเปี่ยม และ จิตรลดา ปิ่นทอง. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาพื้นที่ต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้